เมนู

แต่อุทกทาน ถวายน้ำ ที่เป็นต้นเหตุ เหมือนอย่างดีฉัน จึงกล่าวตอบ
ความที่พระเถระถามโดยทั่วไป. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส และ ตํ
ย่อมกินความถึงผู้ไม่การทำบุญตามที่กล่าวมาแล้วด้วย.
บทว่า อนุปริยนฺติ ได้แก่ล้อมรอบตามความเหมาะสม ด้วยการ
ล้อมรอบสถานที่อยู่ของผู้นั้น แม้ผู้นั้นก็ชื่อว่าถูกล้อมไว้ด้วย. บทว่า ติลกา
ได้แก่ ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีดอกคล้ายดอกชบา. บทว่า อุทฺทาลกา
ได้แก่ ต้นไม้ที่ใช้กำจัดโรคลม ที่เราเรียกกันว่า ราชพฤกษ์ ก็มี.
บทว่า ตํ ภูมิภาเคหิ แปลว่า ด้วยภูมิภาคเช่นนั้น. อธิบายว่า
ด้วยภูมิประเทศที่มีสระโบกขรณี แม่น้ำและสวน ดังกล่าวแล้ว. บทว่า
อุเปตรูปํ ได้แก่ ประกอบด้วยความเป็นวิมานที่ควรสรรเสริญ. ท่าน
อธิบายว่า เป็นที่รวมรมณีสถานที่น่ารื่นรมย์ มีสระโบกขรณีเป็นต้น
เหล่านั้น. บทว่า ภุสโสภมานํ ประกอบความว่า ได้วิมานอันประ-
เสริฐสุด ซึ่งรุ่งเรืองหนักหนานัก. คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปฐมนาวาวิมาน

7. ทุติยนาวาวิมาน


ว่าด้วยนาวาวิมาน 8


[7] พระโมคคัลลานะถามว่า
ดูก่อนเทพนารี ท่านขึ้นนั่งนาวาวิมาน อันมุง
บังด้วยทอง ลงแล่นสระโบกขรณี หักดอกปทุมด้วยมือ
กูฏาคารนิเวศของท่าน จัดไว้พิมพ์เดียวกัน ประหนึ่ง

เนรมิตเป็นส่วนสัด เมื่อส่องแสงก็สว่างโดยรอบ
ทั้งสี่ทิศ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้
เพราะบุญอะไร ผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน อนึ่ง โภคะ
ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน
ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะ
บุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ
วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดาถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว ดีใจ
ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ในชาติก่อน ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ใน
มนุษยโลก ดีฉันได้เห็นภิกษุผู้ลำบากกายกระหายน้ำ
จึงขวนขวายถวายน้ำฉัน ท่านผู้ใดและขวนขวายได้ถวาย
น้ำฉันแก่ภิกษุผู้ลำบากกาย กระหายน้ำมา แม่น้ำ
หลายสาย มีน้ำเยือกเย็น มีสวนไม้มาก มีบุณฑริก
บัวขาวมาก ย่อมเกิดมีแก่ผู้นั้น แม่น้ำหลายสาย
ย่อมเรียงรายไหลล้อมรอบวิมานนั้นเป็นประจำ แม่น้ำ
ทั้งหลายลาดด้วยทราย มีน้ำเย็นสนิท มีต้นมะม่วง
ต้นสาละ ต้นหมากหอม ต้นชมพู่ ต้นราชพฤกษ์
และต้นแคฝอยที่ออกดอกสะพรั่ง ผู้ทำบุญไว้ย่อมได้
วิมานชั้นดีเยี่ยม ที่ประกอบด้วยภูมิภาคเช่นนั้น
สง่างามหนักหนา นี้เป็นวิบากแห่งกรรมนั้นทั้งนั้น

คนทั้งหลายที่ทำบุญไว้แล้ว ย่อมได้ผลเช่นนี้ เพราะ
บุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึง
สำเร็จแก่ดิฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่
ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอก
แก่ท่าน ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ ดีฉันได้ทำบุญอันใดไว้
เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ
วรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบทุติยนาวาวิมาน

อรรถกถาทุติยนาวาวิมาน


ทุติยนาวาวิมาน มีคาถาว่า สุวณฺณจฺฉทนํ นาวํ เป็นต้น. ทุติย-
นาวาวิมานนั้น เกิดขึ้นอย่างไร.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี พระเถระขีณาสพ
รูปหนึ่ง เมื่อจวนวันจะเข้าพรรษา ประสงค์จะจำพรรษา ณ วัดใกล้
หมู่บ้าน จึงออกจากกรุงสาวัตถี เดินทางไกล ภายหลังฉันอาหารแล้ว
มุ่งเฉพาะหมู่บ้านนั้น ลำบากกาย กระหายน้ำ เพราะเดินทางเหนื่อย
ระหว่างทาง ถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ไม่เห็นสถานที่ที่มีร่มเงาและน้ำพร้อม
เช่นนั้น นอกหมู่บ้าน ถูกความเหน็ดเหนื่อยครอบงำ จึงห่มจีวรเข้าไป
ยังหมู่บ้าน ยืนที่ประตูเรือนหลังใกล้ ๆ นั่นแล. ณ เรือนหลังนั้น หญิง
ผู้หนึ่งเห็นพระเถระ จึงถามว่า ท่านมาแต่ไหนเจ้าคะ รู้ว่าท่านเดินทาง
เหนื่อย และกระหายน้ำ จึงกล่าวว่า มาเถิดเจ้าข้า แล้วนิมนต์ให้เข้าไปยัง
เรือน กล่าวว่า นิมนต์นั่งตรงนี้เจ้าค่ะ แล้วปูลาดอาสนะถวาย เมื่อพระ-